วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เนื้อหาวิชาภาษาชีววิทยา ม.4 (01/52) by ครูขวัญ

ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต 2 ประการ คือ
1. ลักษณะทางโครงสร้างและส่วนประกอบ
2. กระบวนการทางชีวภาพต่างๆที่เป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต
จากลักษณะทั้ง 2 ประการนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตมีคุณสมบัติและกระบวนการที่สำคัญ ดังนี้


1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดประกอบขึ้นด้วย กรดนิวคลีอิค (Nucleic acid) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม
ลักษณะทางพันธุกรรม อาจเป็นชนิด DNA หรือ RNA ก็ได้แต่ส่วนใหญ่สิ่งมีชีวิตมี DNA เป็น
สารพันธุกรรม


สิ่งมีชีวิตที่มี DNA เป็นสารพันธุกรรม ได้แก่ พืช สัตว์ สาหร่าย เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก
โปรโตซัว และไวรัสเป็นส่วนใหญ่
สิ่งมีชีวิตที่มี RNA เป็นสารพันธุกรรม ได้แก่ ไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรค
AIDS, SARS, Avian flu เป็นต้น

2. Metabolism หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทุกอย่างที่เกิดขึ้นใน
สิ่งมีชีวิต โดยอาศัยเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฎิกิริยา เป็นกระบวนการที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต
ได้แก่
2.1 การสร้างโพรโตพลาสซึม (Protoplasm) จากอาหารของเซลล์ ทำให้เซลล์
เกิดการเจริญเติบโต เรียกกระบวนการนี้ว่า “Anabolism”


2.2 การสลายโมเลกุลอาหารเพื่อให้ได้พลังงานในรูป ATP ซึ่งนำมาใช้ใน
กระบวนการต่างๆของสิ่งมีชีวิต จัดเป็นกระบวนการ “Catabolism” เช่น ใช้พลังงาน
ในการสร้างโพรโทพลาสซึม การเคลื่อนไหว การเคลื่อนที่ของกระแสประสาท หรือ
Active Transport เป็นต้น

3. การสืบพันธุ์ (Reproduction) หมายถึง การเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตจากจำนวนที่มีอยู่เดิม เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไว้ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

3.1 การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) เป็นการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตโดยใช้เซลล์สืบพันธุ์ (sex cell หรือ gamete) ทำให้ลูกที่ได้มีการแปรผันของลักษณะ (variation) มีโอกาสดีเด่นกว่าพ่อแม่ (hybrid vigor หรือ heterosis)
ประเภทของการการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
- Parthenogenesis
- Conjugation
- Fertilization

3.2 การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) เป็นการเพิ่มจำนวนของสิ่งมีชีวิตโดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์ แต่ใช้เซลล์ร่างกายในการเพิ่มจำนวนลูกที่เกิดขึ้น จะไม่มีการแปรผันของลักษณะและมีลักษณะเหมือนๆกัน ลูกมีการปรับตัวได้น้อย

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศมีหลายวิธี เช่น
- Binary fission (การแบ่งออกเป็น 2 ส่วน)


- Budding (การแตกหน่อ)
- Regeneration (การงอกใหม่)
- Sporulation (การสร้างสปอร์)
- Gemmule formation (การสร้างเจมูล)
- Fragmentation

4. การเจริญเติบโต (Growth and Development) คือกระบวนการเจริญเปลี่ยนแปลงในด้านมวลและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต ดังนั้นจะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มจำนวนของเซลล์ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่เฉพาะของเซลล์ (cell differentiation) การเกิดอวัยวะและรูปร่างของสิ่งมีชีวิต (organogenesis and morphogenesis)


5. กระบวนการขับถ่ายของเสีย และการกินอาหาร (Excretion and Ingestion)
สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโตโดยการสร้างโพรโตพลาสซึมจากอาหารที่บริโภคเข้าไป ขณะเดียวกันของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการต่างๆทางชีวภาพของเซลล์ เช่น CO2 กรดยูริก แอมโมเนีย ยูเรีย จะถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย


6. การตอบสนองต่อสิ่งเร้า (Responsibility)
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า แต่ไม่จำเป็นต้องตอบสนองต่อสิ่งเร้าทุกชนิด พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเป็นไปอย่างช้าๆ เพราะพืชไม่มีระบบประสาท ยกเว้นในไมยราพ หรือคุณนายตื่นสาย ผลจากการที่สิ่งมีชีวิตสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้านี้เอง ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในสภาพต่างๆได้ภายในขอบเขตของพันธุกรรม


7. กระบวนการรักษาดุลยภาพของร่างกาย (Homeostasis)
สิ่งมีชีวิตต่างๆจะดำรงชีพเป็นปกติได้ จะต้องมีกลไกปรับดุลยภาพของระบบต่างๆ เช่น การควบคุมน้ำและแร่ธาตุ การควบคุมความเป็นกรด-ด่าง การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การควบคุมน้ำในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ จะมีกลไกแตกต่างกันออกไป


8. สิ่งมีชีวิตมีลักษณะจำเพาะ (Specific traits)


9. สิ่งมีชีวิตมีการจัดระบบ (Organization)

การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยา เป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่ศึกษาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งแนวความคิดของคนที่มีต่อสิ่งมีชีวิต
เครื่องมือสำคัญของนักชีววิทยา ที่ใช้สืบเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงหรือความรู้ต่างๆในธรรมชาติ คือ “กระบวนการทางวิทยาศาสตร์” (Scientific process)


องค์ประกอบของชีววิทยามี 2 ส่วน ดังนี้
- กระบวนการ (Process) เป็นลำดับขั้นตอน กรรมวิธี ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการค้นคว้า แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ
1. การตั้งปัญหา (Problem)
2. การตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis)
3. การตรวจสอบสมมุติฐาน (Check hypothesis)
4. การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผล (Data analysis and Conclustion)

- ความรู้ (Knowledge) เป็นผลที่ได้จากการกระทำในขั้นกระบวนการ ได้แก่
1. ข้อเท็จจริง (Fact)
2. ข้อมูล (Data)
3. สมมุติฐาน (Hypothesis)
4. ข้อสรุป (Conclusion)
5. ทฤษฎี (Theory)
6. กฏ (Law)


ลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่ถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป มีดังนี้
1. Statement of the problem
- ปัญหาเกิดขึ้นได้อย่างไร
- การสังเกต (Observation)
- การตั้งปัญหาที่ดี
- การตั้งปัญหา
2. Formulation of Hypothesis
- สมมุติฐาน (Hypothesis)
- การตั้งสมมุติฐาน
- ลักษณะของสมมุติฐานที่ดี
- ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับสมมุติฐาน
3. Test Hypothesis
- การตรวจสอบสมมุติฐาน โดยการสังเกตและทดลอง
- กระบวนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรที่ต้องควบคุม)
- สรุปผลการทดลอง
4. Data Analysis and Conclusion


ตัวอย่างวิธีการศึกษาโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นการสังเกตและการตั้งปัญหา
ข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกต
- ต้นผักบุ้งจีนที่ปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่มักจะไม่งอกงาม
- ต้นผักบุ้งจีนที่อยู่ใต้ชายคามักจะไม่งอกงาม
- ต้นผักบุ้งจีนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงดังกล่าว และได้รับแสงสว่างเต็มที่เจริญงอกงามดี
ปัญหา : แสงสว่างเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นผักบุ้งจีนหรือไม่


2. ขั้นตั้งสมมุติฐาน
สมมุติฐานอาจเป็นดังนี้
- ถ้าแสงสว่างมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งจีน ดังนั้น ต้นผักบุ้งจีนที่ได้รับแสงสว่างเต็มที่ย่อมงอกงามดี ส่วนต้นที่ไม่ได้รับแสงย่อมไม่งอกงาม ทั้งนี้ปัจจัยอื่นต้องเหมือนกันหมด
- ถ้าแสงสว่างมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งจีน ดังนั้น ต้นผักบุ้งจีนที่ได้รับความเข้มแสงมากกว่า ย่อมงอกงามดีกว่าต้นที่ได้รับความเข้มแสงต่ำกว่า ทั้งนี้ปัจจัยอื่นต้องเหมือนกันหมด
- ถ้าแสงสว่างเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งจีน ดังนั้น ต้นผักบุ้งจีนที่ขาดแสงย่อมต้องตาย แม้ได้รับปัจจัยอื่นๆครบถ้วน
- ถ้าแสงสว่างเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งจีน ดังนั้น ต้นผักบุ้งจีนที่ไม่งอกงาม เนื่องจากได้รับแสงน้อย เมื่อนำมาให้รับแสงเต็มที่ย่อมงอกงามมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ต้องได้รับปัจจัยอื่นๆเหมือนเดิม


3. ขั้นตรวจสอบสมมุติฐาน : ถ้าต้องการตรวจสอบสมมุติฐานข้อแรก การออกแบบการทดลองควรปฏิบัติดังนี้
3.1 พิจารณาตัวแปรที่จะส่งผลต่อการทดลอง จากสมมุติฐานข้างต้นเราต้องการศึกษาเกี่ยวกับ “ความสำคัญของแสง”
ตัวแปรอิสระ --- แสง
ตัวแปรตาม ---- การเจริญเติบโต
ตัวแปรควบคุม ---- ปริมาณน้ำที่ใช้รด ระดับอุณหภูมิ ชนิดของดิน พันธุ์ของผักบุ้งจีน
3.2 ทำการทดลอง โดยปลูกผักบุ้งจีนลงแปลง 2 แปลง ที่มีตัวแปรต่างเหมือนกันหมด ยกเว้นเกี่ยวกับแสง
3.3 แปลงที่ใช้ปลูกผักบุ้งจีน มีอยู่ 2 แปลง แปลงแรกใช้เป็นแปลงทดลอง (Experimental group) จะให้แสงสว่าง ส่วนอีกแปลงหนึ่งเป็นแปลงควบคุม (Controlled group) โดยที่ให้ได้รับตัวแปรต่างๆเหมือนแปลงแรกทุกประการ ยกเว้นไม่ให้รับแสงสว่าง
ผลการทดลอง : ต้นผักบุ้งจีนที่ได้รับแสงสว่างเต็มที่ (แปลงทดลอง) เจริญเติบโตดี ต้นสูงกว่า จำนวนใบมากกว่า ใบมีสีเขียวสด ส่วนต้นผักบุ้งจีนที่ไม่ได้รับแสงสว่าง (แปลงควบคุม) ไม่เจริญเติบโต ใบเหลืองซีด จำนวนใบน้อย ต้นเรียวเล็ก
*** ในการปฏิบัติจริงต้องทำการดลองซ้ำๆกันหลายครั้ง แล้วนำมาคำนวนหาค่าทางสถิติ เพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องแน่นอนที่สุด


4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผล สรุปผลการทดลอง : จากผลการทดลองทำให้สรุปได้ว่า “แสงมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นผักบุ้งจีน”


เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
ธาตุและสารประกอบภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
ธาตุในร่างกายของสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่รวมกันปริมาณสูงโดยน้ำหนัก ได้แก่ O, C, H, N ซึ่งมีปริมาณรวมกันกว่า 99% ซึ่งปรากฎอยู่ในรูปของสารประกอบต่างๆ เช่น น้ำ (H2O) คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ส่วนธาตุอื่นๆ ได้แก่ Ca, K, Na, Mg, Cl, I, Mn, และ Fe มีรวมกันเพียง 0.001% ส่วน P มี 0.24% และ S มี 0.06% แม้ว่าธาตุจะมีปริมาณน้อยในร่างกาย แต่ก็มีบทบาทสำคัญอย่างมากในกระบวนการและปฏิกิริยาต่างๆภายในเซลล์


สารเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
1. สารอนินทรีย์
1.1 น้ำ (Water) เป็นสารเคมีที่มากที่สุดในร่างกายประมาณ 70-90% โดยน้ำหนัก


1.2 แร่ธาตุ (Minerals)



2. สารอินทรีย์ มีหลายประเภทในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน กรดนิวคลีอิค นิวคลีโอไทด์ และวิตามิน
2.1 Carbohydrate เป็นสารอินทรีย์ที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ และเป็นสารอาหารที่สิ่งมีชีวิตใช้เป็นแหล่งให้พลังงานเพื่อดำรงชีวิตมากที่สุด โดยเฉพาะน้ำตาลกลูโคส ประกอบด้วยธาตุหลัก คือ C, H และ O โดยมีอัตราส่วน H : O = 2 : 1 เช่น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว C6H12O6 หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ C12H22O11
อย่างไรก็ตามมีสารหลายชนิดที่ไม่ได้เป็นคาร์โบไฮเดรตแต่ก็มีส่วนประกอบที่มีอัตราส่วน H : O = 2 : 1 เหมือนกัน เช่น กรดอะซีติก (CH3COOH) และกรดแลกติค (C3H6O3)
ในทางตรงกันข้ามมีสารประกอบบางชนิดที่เป็นคาร์โบไฮเดรต แต่สัดส่วนของ H : O ไม่ใช่ 2 : 1 เช่น น้ำตาลรีออกซีไรโบส (C5H10O4) น้ำตาลแรมโนส (C6H12O5) เป็นต้น
นอกจากอะตอมของธาตุหลัก 3 ชนิดดังกล่าวในโมเลกุลของคาร์โบไฮเดรตบางชนิดยังอาจประกอบด้วยธาตุอื่นๆ ได้อีก เช่น ไนโตรเจน พบใน N-acetyl glucosamine



1.คาร์โบไฮเดรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยใช้จำนวนโมลกุลของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวเป็น เกณฑ์ ดังนี้
1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide) มีขนาดโมเลกุลเล็กสุด และร่างกายสามารถ
ดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้เลย มีสูตรทั่วไปเป็น (CH2O)n โดย n จะมีจำนวนตั้งแต่ 3 จนถึง 7 การเรียกชื่อมักเรียกตามอะตอมของคาร์บอน เช่น
C = 3 เรียก ไตรโอส (triose) C = 4 เรียก เทโตรส (tetrose)
** ข้อควรทราบ สารเคมีที่มีองค์ประกอบทางเคมีเหมือนกัน แต่มีโครงสร้างและสมบัติ
ทางเคมีต่างกัน เรียกว่าเป็น “ไอโซเมอร์” (isomer) กัน เช่น กลูโคส ฟรุกโตส และกาแลค
โตส มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน คือ C6H12O6 แต่มีโครงสร้างแตกต่างกัน เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
สามารถที่จะบอกความแตกต่างของไอโซเมอร์ได้


2. โอลิโกแซคคาไรด์ (Oligosaccharide) คือ คาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวตั้งแต่ 2 ถึง 10 โมเลกุล ที่พบมากในธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตาลโมเลกุลคู่ (Disaccharide) ซึ่งมีสูตรโมเลกุลเป็น C12H22O11 ได้แก่ Sucrose, Lactose, Maltose and Cellobiose มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ดี และมีรสหวาน
Trisaccharide ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 3 โมเลกุล เช่น Raffinose
ประกอบด้วย Glucose, Galactose and Fructose อย่างละ 1 โมเลกุล พบมากในหัวบีทและพืชชั้นสูงบางชนิด
3. คาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide) สูตรทั่วไปคือ (C6H10O5)n เป็น คาร์โบไฮเดรตที่เกิดจากน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวมากกว่า 10 โมเลกุลขึ้นไปจนถึงหลายๆร้อยโมเลกุล มารวมตัวกันด้วยพันธะไกลโคซิดิค เกิดเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่ เรียกกระบวนการนี้ว่า “Polymerization” ได้แก่ พวก Glycogen (สัตว์), Starch, Inulin (พืช)



2. โปรตีน (Protein) = Polymer of Amino acid
คือ สารชีวโมเลกุลประเภทสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C H O N เป็นองค์ประกอบสำคัญ นอกจากนั้นยังมีธาตุอื่น ๆ เช่น S P Fe Zn ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีน โปรตีน เป็นสารพวกพอลิเมอร์ ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากมาย กรดอะมิโน ( Amino Acid) คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิลและหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชัน



ชนิดกรดอะมิโน
กรดอะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด จำแนกตามความจำเป็นแก่ร่างกาย คือ


1. กรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย (Essential amino acid ) ได้แก่ กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้ หรือสังเคราะห์ได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดอะมิโนเหล่านี้ ได้แก่ อาร์จินีน ( Arginine ) ฮีสทิดีน (Histidine ) ไอโซลิวซีน (Isoleucine ) ลิวซีน (Leucine ) ไลซีน (Lysine ) เมทิโอนีน (Methionine ) เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine ) เทรโอนีน (Threonine ) ทริปโทเฟน (Tryptophan ) และวาลีน (Valine ) เด็กต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย 9 ตัวยกเว้นอาร์จินีน สำหรับผู้ใหญ่ต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็นแก่ร่างกาย 8 ชนิด ยกเว้น อาร์จินีน และฮีสทิดีน



2. กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นแก่ร่างกาย ( Nonessential amino acid ) ได้แก่ กรดอะมิโนที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายไม่จำเป็นต้อง ได้รับจากอาหาร คือ อาจสังเคราะห์ขึ้นจากสารประกอบพวกไนโตรเจน หรือจากกรดอะมิโน ที่จำเป็นแก่ร่างกาย หรือจากไขมันหรือจากคาร์โบไฮเดรต
กรดอะมิโนพวกนี้ได้แก่ กรดกลูแทมิก ไกลซีน ซีสทีน ไทโรซีน เป็นต้น ในเรื่องนี้มักมีคนเข้าใจผิดว่ากรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นแก่ร่างกาย เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องใช้ ความจริงนั้นร่างกายต้องใช้กรดอะมิโนทั้งสองพวกในการสร้างโปรตีน แต่ที่เราเรียกว่าเป็นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นนั้น เพราะเราคิดในแง่ที่ว่าร่างกายสร้างเองได้เพียงพอ จากการวิเคราะห์พบว่าโปรตีนในเซลล์ และเนื้อเยื่อของร่างกายมีกรดอะมิโนพวกนี้อยู่ร้อยละ 40



3. ไขมัน (Lipid) เป็นสารอาหารที่ร่างกายนำไปสลายให้พลังงานรองลงมาจากคาร์โบไฮเดรต แต่ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ C, H และ O โดยอัตราส่วน H : O ไม่ใช่ 2 : 1 เหมือนคาร์โบไฮเดรต ไขมันไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายสารอินทรีย์ พบไขมันได้ทั่วไปในเซลล์สัตว์โดยเฉพาะเนื้อเยื่อไขมัน (apidose tissue) และในเมล็ดพืช เช่น ถั่วลิสง งา ละหุ่ง ฝ้าย มะพร้าว เป็นต้น
โครงสร้างทางเคมีของไขมัน
โมเลกุลของไขมันธรรมดาประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
- กลีเซอรอล (Glycerol) จำนวน 1 โมเลกุล
- กรดไขมัน (Fatty acid) จำนวน 1-3 โมเลกุล



ประเภทของกรดไขมัน
1. จำแนกตามโครงสร้าง มี 2 ประเภท
1.1 กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids) หมู่แอลคิลจะมีแต่พันธะเดี่ยว
เช่น กรดไมริสติก กรดปาล์มมิติก กรดสเตียริก


1.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acids) หมู่แอลคิลจะมีแต่พันธะคู่อยู่ด้วย เช่น กรดปาล์มมิโตเลอิก กรดโอเลอิก กรดลิโนเลอิก กรดลิโนเลนิก

2. กรดไขมันที่จำเป็น (Essential fatty acid)
มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องบริโภคเข้าไป เช่น กรดไลโนเลอิค ช่วยป้องกันมิให้ผมร่วง ใช้รักษาโรคผิวหนัง และช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตเต็มที่


3. การรวมตัวของกลีเซอรอล และกรดไขมันเป็นโมเลกุลไขมัน
กลีเซอรอลแต่ละโมเลกุลสามารถเกิดพันธะเคมีกับกรดไขมันได้ตั้งแต่ 1- 3 โมเลกุล แต่ละครั้งที่กรดไขมันรวมตัวกับกลีเซอรอล จะได้น้ำเกืดขึ้น 1 โมเลกุล เรียกปฎิกริยานี้ว่า “Dehydration” เรียกไขมันที่เกิดขึ้นว่า monoglyceride, diglyceride และ triglyceride ตามจำนวนโมเลกุล



4. ประเภทของไขมัน
4.1 ไขมันธรรมดา (Simple Lipid) ประกอบขึ้นด้วยกรดไขมันกับแอกอฮอลล์ เช่น กรดไขมัน กับกลีเซอรอล ประกอบกันเป็นไขมัน เรียกว่า กลีเซอไรด์ ซึ่งถ้าอยู่ในสภาพของเหลวจะเป็นน้ำมัน (oil) ถ้าอยู่ในสภาพของแข็งจะเป็นไขมัน (fat)
4.2 ไขมันเชิงประกอบ (Compound Lipid) เป็นไขมันที่ประกอบด้วยไขมันธรรมดารวมอยู่กับสารชนิดอื่นๆ มีอยู่ 3 ชนิด คือ Phospholipid, Glycolipid and Lipoprotein
4.3 ไขมันอื่นๆ (Miscellaneous Lipid) เป็นไขมันที่ได้จากไขมัน 2 ประเภทที่กล่าวมาแล้ว เช่น กรดไขมัน แอลกอฮลล์ นอกจากนี้ ยังรวมถึง สเตอรอยด์ ซึ่งเป็นสารอินทรีย์มิใช่ไขมัน แต่มีสมบัติคล้ายไขมัน เช่น Cholesterol



4. กรดนิวคลีอิค (Nucleic acid) มี 2 ชนิด คือ
- DNA (Deoxyribonucleic acid) เป็นสารพันธุกรรมที่พบเป็นส่วนใหญ่ในสิ่งมีชีวิต DNA เป็น polymer ประกอบขึ้นจากหน่วยย่อย (monomer) เรียกว่า nucleotide โดยแต่ละ nucleotide ประกอบด้วยน้ำตาล Deoxyribose และเบสชนิดใดชนิดหนึ่งใน 4 ชนิด (Adenine, Guanine, Cytosine, Thymine)
- RNA (Ribonucleic acid) ประกอบด้วยน้ำตาล Ribose กรดฟอสฟอริค และเบส
โมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วน ได้แก่
- หมู่ฟอสเฟต
- น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม
- เบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ นิวคลีโอไทด์มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิดแตกต่างกันที่องค์ประกอบที่เป็นเบส


5. วิตามิน (Vitamin) เป็นสารที่ร่างกายต้องการน้อยมาก แต่ขาดไม่ได้เพราะมีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทต่อร่างกายในด้านต่างๆ ดังนี้
5.1 ช่วยป้องกันและต้านทานโรคบางอย่าง
5.2 เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์ ช่วยให้เอนไซม์ทำงานได้ดีขึ้น
5.3 เป็นปัจจัยร่วมในกระบวนการทางสรีระ
ประเภทของวิตามิน
1.วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ B, C, F, carnitine, biotin, กรดแพนโธนิค ไม่สะสมในร่างกาย ถ้ามีมากถูกขับออกทางปัสสาวะ
2.วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ A, D, E, K สะสมในร่างกาย ถ้ามีมากจะเกิดผลเสีย

ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์
Metabolism หมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย เพื่อทำ
ให้ชีวิตดำเนินไปได้ โดยปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในร่างกายแบ่งเป็น 2 กระบวนการ คือ
กระบวนการสร้าง และกระบวนการสลาย รายละเอียด ดังนี้
1. กระบวนการสร้าง (anabolism) หมายถึง การสร้างสารโมเลกุลใหญ่จากสาร
โมเลกุลเล็กจำนวนมาก เช่น การสร้างไกลโคเจน (glycogen)ในร่างกาย เกิดจาก
กลูโคส (glucose)จำนวนมากรวมตัวกัน
2. กระบวนการสลาย (catabolism) หมายถึง การสลายตัวของสารโมเลกุลใหญ่
เป็นสารที่มีโมเลกุลเล็กจำนวนมาก เช่น การสลายตัวของไกลโคเจนจะได้กลูโคส
จำนวนหลายโมเลกุล
ปฏิกิริยาเคมี คือ ขบวนการที่สารตั้งต้นเปลี่ยนไปเป็นผลิตภัณฑ์ ในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาเคมี ปริมาณของสารตั้งต้นย่อมลดลง ยิ่งเวลาผ่านไป ปริมาณของสารตั้งต้นก็จะยิ่งเหลือน้อยลง และปริมาณของผลิตภัณฑ์ก็จะเพิ่มมากขึ้น
ปฏิกิริยาเคมี มี 2 ประเภท คือ 1. ปฏิกิริยาคายพลังงาน (Exergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมามากกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป 2. ปฏิกิริยาดูดพลังงาน (Endergonic reaction) หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นแล้วจะปล่อยพลังงานออกมาน้อยกว่า พลังงานกระตุ้นที่ใส่เข้าไป
บทบาทของอิเลคตรอน
ปฏิกิริยา Oxidation-Reduction

ปฏิกิริยารีดอกซ์ เป็นปฏิกิริยาที่ประกอบด้วย 2 ปฏิกิริยาย่อย คือ ปฏิกิริยารีดักชัน กับปฏิกิริยาออกซิเดชัน
ปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่สารเสียอิเล็กตรอน หรือหมายถึงปฏิกิริยาที่สารมีการเพิ่มเลยออกซิเดชัน
ปฏิกิริยารีดักชัน (Reduction reaction) หมายถึงปฏิกิริยาที่สารรับอิเล็กตรอน หรือหมายถึงปฏิกิริยาที่สารมีการลดเลขออกซิเดชัน
การพิจารณาว่าปฏิกิริยาใดเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์หรือไม่ อาจพิจารณาได้ง่าย ๆ ดังนี้

1. ปฏิกิริยาที่มีธาตุอิสระเป็นสารตั้งต้นหรือเป็นสารผลิตภัณฑ์จะเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ (ปฏิกิริยาสันดาป และปฏิกิริยาสังเคราะห์แสงเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์)
2. ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเซลล์ไฟฟ้าเคมีทุกชนิดเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์
3. ปฏิกิริยาเมตาบอลิซึมในร่างกายเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์
4. ปฏิกิริยาที่มีธาตุแทรนซิชันร่วมอยู่ด้วยมักจะเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์

ตัวรีดิวซ์ (Reducer or Reducing agent or Reductant) คือ สารที่ทำหน้าที่ให้อิเล็กตรอนแก่สารอื่น ดังนั้นตัวรีดิวซ์จึงมีเลขออกซิเดชันเพิ่มขึ้น
ตัวออกซิไดซ์ (Oxidizer or Oxidizing agent or Oxidant) คือ สารที่ทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนจากสารอื่น ดังนั้นตัวออกซิไดซ์จึงมีเลขออกซิเดชันลดลง

ข้อสังเกต
1. อโลหะอิสระมักจะเป็นตัวออกซิไดซ์ เพราะอโลหะชอบรักอิเล็กตรอน
2. โลหะอิสระจะเป็นตัวรีดิวซ์ เพราะโลหะเสียอิเล็กตรอนได้ง่าย
3. สารประกอบที่มีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบมากกว่ามักจะเป็นตัวออกซิไดซ์ ส่วนสารที่มีออกซิเจนน้อยกว่า หรือไม่มีเลยมักจะเป็นตัวรีดิวซ์
4. ไอออนบวกมักจะเป็นตัวออกซิไดซ์ ส่วนไอออนลบมักจะเป็นตัวรีดิวซ์

เซลล์ของสิ่งมีชีวิต
เซลล์ เป็นหน่วยชีวิตเล็กๆของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สิ่งที่แสดงถึงความมีชีวิตของเซลล์คือ สามารถขยายพันธุ์และมีการเจริญเติบโตได้ องค์ประกอบและพฤติกรรมของเซลล์สามารถศึกษาได้ด้วยเทคนิคและกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีเซลล์ ชวานน์และชไนเดอร์ ได้เสนอทฤษฎีเซลล์ เมื่อราวปี ค.ศ.1893 มีใจความสรุปว่า “สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์”
จากผลการศึกษาเกี่ยวกับเซลล์ในปัจจุบันสรุปได้ ดังนี้
1. เซลล์เป็นหน่วยชีวิตพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
2. เซลล์เป็นหน่วยทำหน้าที่กิจกรรมต่างๆของสิ่งมีชีวิต
3. เซลล์ทั้งหลายเกิดมาจากเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อนด้วยกระบวนการแบ่งเซลล์

รูปร่างของเซลล์
รูปร่างของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของชนิดหน้าที่ และตำแหน่งของเซลล์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปมีลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น

1. มีรูปร่างแบน เพื่อเหมาะกับการบุพื้นผิวให้เรียบ - ลื่น เช่น เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม มีรูปร่างค่อนข้างกลม แบน ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นเยื่อบุผิวภายในปาก

2. มีรูปร่างกลม เพื่อการถูกพัดพาไปได้ง่าย เช่น เซลล์ไข่

3. มีรูปร่างหลายแฉกและยาว เหมาะกับการส่งข่าวสารไปประสานงานตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เซลล์ประสาน มีรูปร่างบางส่วนเป็นแฉก (รูปดาว) และบางส่วนยาว เพื่อเหมาะสมในการรับและส่งกระแสประสาทอย่างรวดเร็ว

4. มีรูปร่างทรงกระสวย เช่นเซลล์กล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งเรียงตัวสลับกันเป็นผืนและหดตัวได้ง่าย

5. มีรูปร่างทรงกระบอกและมีออร์แกนเนลล์มากขึ้น เหมาะสำหรับสร้างสารและดูดซึมสาร

ขนาดของเซลล์

เซลล์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เช่น เซลล์ของพวกแบคทีเรีย ไปจนกระทั่งเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น เซลล์ของไข่พวกสัตว์ปีกสัตว์เลื้อยคลาน หน่วยที่ใช้วัดขนาดของเซลล์ที่มีหลายชนิด เช่น อังสตรอม (Angstrom ) นาโนเมตร (Nanometer:nm) ไมโครเมตร (Micrometer : mm) และมิลลิเมตร (millimeter : mm) ซึ่งแต่ละหน่วยสามารถเปรียบเทียบได้

สารเคลือบเซลล์ (Cell coat)
ในสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน จะมีสารเคลือบเซลล์แตกต่างกัน ดังนี้
1. สิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น รามีสารเคลือบเซลล์ไคติน (Chitin) ไดอะตอมมีสารพวกซิลิกา(Silica)
2. เซลล์พืช มีสารเคลือบเซลล์ประเภทเซลลูโลส ลิกนิน เพกติน ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ สารเคลือบเซลล์เหล่านี้ประกอบกันเป็นผนังเซลล์ (Cell wall) นากจากนี้ยังมีสารพวกซูเบอรินและคิวติน ป้องกันการระเหยของน้ำในเซลล์พืชอีกด้วย ระหว่างชั้นผนังเซลล์พืช จะมีการช่วยให้ไซโทพลาสซึมระหว่างเซลล์ไหลติดต่อกันได้ เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (Plasmodesmata)

เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane )

เป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยสารสำคัญ 2 ชนิด คือ โปรตีนและไขมัน พบได้ทั้งเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ช่วยให้เซลล์ดำรงสภาพสมดุลไว้ได้

หน้าที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์
1. เป็นอาณาเขตแสดงขอบเขตของเยื่อหุ้มเซลล์และห่อหุ้ทส่วนที่อยู่ภายในทั้งหมด
2. คัดเลือกสารที่จะผ่านของเซลล์ เรียกว่ามีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน ( Semipermeable membrane)
3. เป็นตำแหน่งที่มีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างเซลล์กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ เซลล์
4. ช่วยทำให้เกิดความต่างศักดิ์ไฟฟ้าระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ เนื่องจากการกระจายของอิออนต่างๆ ไม่เท่ากันทำให้เกิดการนำกระแสประสาทในเซลล์ประสาทได้

ไซโทพลาสซึม (Cytoplasm)
เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์กับเยื่อหุ้มนิวเคลียส ประกอบด้วยออแกเนลล์ (Organelle) และส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตต่างๆ ออแกเนลล์ที่พบในไซโตพลาสซึม ได้แก่
Endoplasmic reticulum
มีรูปร่างลักษณะเป็นร่างแห ภายในเป็นท่อกลวงติดต่อถึงกันหมด บางบริเวณจะพองออกเป็นถุงแบนๆ เยื่อที่หุ้ม ER เป็นยูนิตเมนเบรน ซึ่งจะเชื่อมติดต่อกับเยื่อหุ้มเซลล์ และเยื่อหุ้มนิวเคลียสด้วย

1. Rough ER หรือ RER เป็น ER ที่มีไรโบโซมเกาะที่ผิวเต็มไปหมดทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์ เช่น เซลล์ในตับอ่อน

2. Smooth ER หรือ SER เป็น ER ชนิดที่ไม่มีไรโบโซมเกาะอยู่ ทำหน้าที่สังเคราะห์สารพวกไขมันที่เป็นสเตอรอยด์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไตชั้นนอก อัณฑะและรังไข่ ในลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดซึมไขมัน ในเซลล์ตับทำหน้าที่ขนส่งไกลโคเจน กลูโคสและกำจัดสารพิษออกนอกร่างกาย

Golgi body
เป็นยูนิตเมมแบรนบางๆ เรียงกันเป็นชั้นๆ ประมาณ 5 - 15 ชั้น คล้ายจานเรียงซ้อนกันที่ขอบถุงคล้ายจานนี้จะมีถุงเล็กๆ แตกกิ่งออกไปเป็นตาข่าย
หน้าที่ของ Glogi body
1. เสมือนหนึ่งเป็นโรงงานรับโปรตีนที่ส่งมาจาก RER มาบรรจุหีบห่อโดยอัดโปรตีนปริมาณมากๆ ให้แน่นแล้วสร้างคาร์โบไฮเดรตเพิ่มเติมเข้าไปกลายเป็นไกลโคโปรตีน แล้วสร้างเยื่อหุ้มไว้โดยรอบทำให้ได้โปรตีนที่พร้อมจะส่งออกไปใช้นอกเซลล์
2. สร้างเมือก (Mucilage) ในเซลล์หมวกราก (Root cap) และในเซลล์สัตว์
3. สร้างอีนาเมล (Enamel) เคลือบฟัน
4. เป็นแหล่งเก็บสะสมที่เซลล์ผลิตขึ้น (Seretion) ก่อนลำเลียงไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์
5. เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์เพลต (Cell plate) แบ่งแยกเซลล์ในกระบวนการแบ่งเซลล์ของพืชและการสังเคราะห์เซลลูโลสเพื่อสร้างผนังเซลล์ในพืช

Lysosome
เป็นออร์แกเนลล์ที่มียูนิตเมมเบรนเป็นเยื่อหุ้มชั้นเดียว พบเฉพาะในเซลล์สัตว์เท่านั้นและโพทิสต์บางชนิด ภายในประกอบด้วยน้ำย่อยหลายชนิดซึ่งสามารถย่อยสลายโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิกได้ ดั้งนั้นเยื่อหุ้มของไลโซโซมจะต้องมีความทนต่อปฏิกิริยาการย่อยและไม่ยอมให้เอ็นไซม์ภายในถุงแพร่ผ่านออกไปข้างนอกได้

หน้าที่ของ Lysosome
1. ย่อยสารอาหารภายในเซลล์นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเอ็นไซม์ภายในไลโซโซมสร้างมาจาก RER แล้ว RER จะส่งเอ็นไซม์มายัง Golgi body และจะมีการสร้างเยื่อหุ้มเอ็นไซม์เกิดเป็นถุง เรียก Primary lysosome ถุงเหล่านี้จะไปรวมกับ Vacuole ที่มีอาหารอยู่ภายในเซลล์และมีการย่อยอาหารเกิดขึ้นเรียก Secondary lysosome
2. ย่อยส่วนของเซลล์ที่ได้รับความเสียหายหรืออนุภาคแปลกปลอม เช่น แบคทีเรียที่เข้ามาในเซลล์หรือทำลายเซลล์ที่แก่เต็มที่ที่หมดอายุแล้ว เช่นการย่อยหางของลูกอ๊อดในขณะที่มีเมตามอร์โฟซิตไปเป็นตัวกบ เรียกขบวนการย่อยทำลายเซลล์ตัวเองนี้ว่า autolysis ในคนเราไลโซโซมจะพบมากเป็นพิเศษในเม็ดเลือดขาวชนิดที่จับกินสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี Phagacytosis

Vacuole
Vacuole มีเยื่อหุ้มชั้นเดียวเรียก Tonoplast ในสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันจะมี แวคิวโอลทำหน้าที่แตกต่างกันไป
หน้าที่ของ Vacuole
1. ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวจำพวกโพรโตซัวน้ำจืด จะมีแวคิวโอลชนิดหดหัวได้เรียก Contractile vacuole ทำหน้าที่ขับน้ำที่มากเกินพอและของเสียบางอย่างออกจากเซลล์
2. Vacuole ที่มีอาหารอยู่ใน Food vaculoe เกิดจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือบางชนิดนำอาหารเข้าสู่ภายในเซลล์ เช่น โพรโตซัว ไฮดรา
3. Vacuole ของเซลล์พืชที่เจริญเต็มที่มีสารละลายเรียก Cell sap อยู่ภายในเรียก Sap vacuole ส่วนประกอบที่อยู่ภายในเป็นน้ำก๊าซ เกลือ กรดอินทรีย์ น้ำตาล โปรตีน และรงควัตถุบางชนิด ใน Sap vacuole ของเซลล์กลีบดอกชบา

Mitochondria
ไมโตคอนเดรีย เป็นออร์แกเนลล์ ที่พบเฉพาะในเซลล์ ของยูคารีโอต ที่ใช้ออกซิเจน ในการหายใจเท่านั้น ในระยะแรกที่พบ ตั้งชื่อออร์แกเนลล์นี้หลายชื่อ เช่น คอนดริโอโซม (chondriosome) ไบโอบลาสต์ (bioblast) จนกระทั่ง พ.ศ.2440 เบนดา (benda) ได้เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย
รูปร่างของไมโตคอนเดรียเป็นก้อนกลม หรือก้อนรีๆ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 0.5-1.0 ไมครอน ความยาวประมาณ 5-10 ไมครอน หรือยาวมากกว่า มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ซึ่งเป็นชนิดยูนิตเมมเบรน เยื่อชั้นในมีลักษณะเป็นท่อ หรือเยื่อที่พับทบกันอยู่ เรียกว่า ครีสตี (cristae) ท่อนี้ยื่นเข้าไปในส่วนของเมทริกซ์ (matrix) ที่เป็นของเหลว ของสารประกอบหลายชนิด

ไมโตคอนเดรีย พบในยูคารีโอตเกือบทุกชนิด ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเซลล์แต่ละเซลล์ มีจำนวนไมโตคอนเดรียไม่เท่ากัน โดยทั่วไป พบไมโตคอนเดรียมาก ในเซลล์ที่มี อัตราเมตาโบลิซึมสูง เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์ต่อม เซลล์ที่กำลังเจริญเติบโต เป็นต้น
หน้าที่ของ mitochondria
1. สร้างสารให้พลังงานสูง คือ ATP (Adenosine triphosphate) โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ - เยื่อหุ้มด้านนอก ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง กับการสร้างสารประกอบ ฟอสโฟลิปิด - เยื่อหุ้มด้านใน มีเอนไซม์เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ ATP
2. ภายในเมทริกซ์มีของเหลว ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ ซึ่งเกี่ยวข้อง กับปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในวัฏจักรเครปส์ (Krebs cycle)
3. มี DNA (Deoxyribonucleic acid) RNA (Ribonucleic acid) เอนไซม์ และไรโบโซม อยู่ภายในออร์แกเนลล์ ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนขึ้น ภายในออร์แกเนลล์

Chloroplast
คลอโรพลาสต์ (chloroplaast) เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติคมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติค จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติคไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต ์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่
ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อิกเตอร์ กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้
ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที่สุด

Ribosome
ไรโบโซม (Ribosome) เป็นออร์แกเนลล์ขนาดเล็ก แม้ตรวจดู ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน ก็จะเห็นเป็นเพียงจุดเท่านั้น อาจลอยอยู่เป็นอิสระ หรือต่อกันเป็นสาย หรือเกาะกับเยื่อหุ้ม ของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 100-200 อังสตรอม ไรโบโซมมี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่เกาะกับเอนโดพลาสมิก เรติคิวลัม พวกที่เกาะอยู่ที่เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม จะพบมากในเซลล์ต่อม ที่สร้างเอนไซม์ต่าง ๆ พลาสมาเซลล์เหล่านี้ จะสร้างโปรตีน ที่นำไปใช้นอกเซลล์เป็นสำคัญ และชนิดที่อยู่อย่างอิสระ ในไซโตพลาสซึม ทั้ง 2 ชนิดทำหน้าที่สร้างโปรตีน ไรโบโซม กระจายอยู่ทั่วไป ภายในไซโทพลาสซึม ของเซลล์โปรคาริโอต (Prokaryote) และยูคาริโอต (Eukaryote) พบได้ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป ประกอบด้วยสารเคมี 2 ชนิด คือ กรดไรโบนิวคลีอีก (Ribonucleic acid : RNA) กับโปรตีน อยู่รวมกัน เรียกว่า ไรโบนิวคลีโอโปรตีน (Ribonucleoprotien) RNA เป็นชนิดไรโบโซมอล อาร์เอนเอ (Ribosomal RNA) หรือ rRNA ซึ่งมีประมาณ 85% ของ RNA ที่พบในเซลล์
ส่วนโปรตีนจะแตกต่างไปตามชนิดของสิ่งมีชนิดไรโบโซม จะประกอบด้วย 2 หน่วยย่อย (Subunit) ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ เรียกคามความเร็วของการตกตะกอน เมื่อไปปั่นว่า 60S และ 40S (S = Svedberg unit of sedimentation coefficient ซึ่งเป็นค่าความเร็วในการตกตะกอน ) หน่วยย่อยทั้งสองน ี้จะรวมกันเป็นหน่วยใหญ่ เมื่อมีแมกนีเซียมไอออนเข้มขัน 0.001 โมลาร์ มีค่าความเร็วในการตกตะกอน เป็น 80S พบในพวกเซลล์ยูคาริโอต ส่วนในพวกเซลล์โพรคาริโอต ไรโบโซมมีขนาดเล็กกว่า คือเป็นขนาด 50S และ 30S ซึ่งเมื่อรวมกันจะได้เป็น 70S
นอกจากนี้ในคลอโรพลาสต์ และไมโทคอนเดรีย ก็มีไรโบโซมชนิด 70S ด้วย ส่วนเซลล์เม็ดเลือดแดง ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่เจริญเต็มที่ แล้วจะไม่มีโรโบโซมในเซลล์ ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน จะพบไรโบโซมมากกว่า เซลล์ที่ไม่ได้สังเคราะห์โปรตีน ในเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโต ก็จะมีไรโบโซมมากด้วย เช่น แบคทีเรีย E. Coli ระยะเจริญเติบโตเต็มที่จะมีไรโบโซมประมาณ 25-30 % ของมวลทั้งหมดของเซลล์

เซนตริโอล (centrioles)
เป็นออร์แกเนลล์ รูปทรงกระบอก ไม่มีเยื่อหุ้ม ขนาดยาวประมาณ 300-2,000 มิลลิไมครอน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150-250 มิลลิไมครอน ไม่พบในเซลล์พืช แต่จะพบ ในโปรตีสต์บางชนิด และเซลล์สัตว์ ในแต่ละเซลล์ จะมีเซนตริโอล 2 อัน วางในแนวตั้งฉาก ซึ่งกันและกัน เซนตริโอลทั้งสอง จะอยู่ใกล้นิวเคลียส แต่ละอันของเซนตริโอล ประกอบด้วยหลอดเล็กๆ เรียกว่าไมโครทิวบูล เรียงกัน เป็นกลุ่มวงกลม 9 กลุ่ม แต่ละกลุ่ม ประกอบด้วยไมโครทิวบูล 3 อัน ตรงกลางกลุ่ม ไม่มีไมโครทิวบูล จึงเขียนสูตรโครงสร้างไมโครทิวบูล ว่า 9+0 (ส่วนซีเลีย หรือแฟลกเจลลา มีไมโครทิวบูลสูตร 9+2) เทคนิคการจำสูตรไมโครทิวบูล ของเซนตริโอล ซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า centriole จะเห็นว่ามี o (โอ) ซึ่งเขียนเหมือนกับ 0 (ศูนย์) ดังนั้นจึงมีสูตรว่า 9+0 ส่วน cilia จะเห็นว่ามี I (ไอ) เปรียบเหมือนเลข 1 มี 2 I = 1+1 ดังนั้น สูตรของไมโครทิวบูล ของซีเลียจึงเป็น 9+2 ซึ่งซีเลีย และแฟลกเจลลา มีลักษณะคล้ายกัน จึงใช้สูตรเดียวกัน
หน้าที่ของ Centrioles
1. สร้างสายสปินเดิล ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนที่ ของโครโมโซม ในขณะเซลล์แบ่งตัว ในเซลล์พืชไม่มีเซนตริโอล แต่มีบริเวณใสๆ อยู่ 2 แห่ง คล้ายกับบริเวณ ที่เซนตริโอล อยู่ในเซลล์สัตว์ ส่วนใสๆ เรียกว่า โพลาร์แคพ (polar cap)
2. ทำหน้าที่เป็นบาซัลบอดี หรือส่วนที่เป็นฐาน ของซีเลียและแฟลกเจลลา (สูตรไมโครทิวบูล 9+2) ทำหน้าที่ควบคุม การเคลื่อนไหวของ ซีเลียและแฟลกเจลลัม (สูตรไมโครทิวบูล 9+0)

Nucleus
นิวเคลียส (nucleus) เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม
สารประกอบทางเคมีของนิวเคลียส ประกอบด้วย
1. ดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือ DNA เป็นส่วนประกอบของโครโมโซมนิวเคลียส

2. ไรโบนิวคลีอิก แอซิด (ribonucleic acid) หรือ RNA เป็นส่วนที่พบในนิวเคลียสโดยเป็นส่วนประกอบของนิวคลีโอลัส

3. โปรตีน ที่สำคัญคือโปรตีนฮีสโตน (histone) โปรตีนโพรตามีน (protamine) ทำหน้าที่เชื่อมเกาะอยู่กับ DNA ส่วนโปรตีนเอนไซม์ส่วนใหญ่จะเป็นเอนไซม์ในกระบวนการสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และเมแทบอลิซึมของกรดนิวคลีอิก

โครงสร้างของนิวเคลียส ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

1. เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อบางๆ 2 ชั้น เรียงซ้อนกัน ที่เยื่อนี้จะมีรู เรียกว่านิวเคลียร์ พอร์ (nuclear pore) หรือ แอนนูลัส (annulus) มากมาย ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาซึมและนิวเคลียส นอกจากนี้เยื่อหุ้มนิวเคลียสยังมีลักษณะเป็นเยื่อเลือกผ่านเช่นเดียวกับเยื่อหุ้มเซลล์

2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห ประกอบด้วย โปรตีนหลายชนิด และ DNA มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป

3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ ประกอบด้วย โปรตีน และ RNA โดยโปรตีนเป็นชนิดฟอสโฟโปรตีน (phosphoprotein) และไม่พบโปรตีนฮีสโตนเลย นิวคลีโอลัสมีหน้าที่ในการสังเคราะห์ RNA ชนิดต่างๆ ดังนั้นนิวคลีโอลัสจึงมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนเป็นอย่างมาก เนื่องจากไรโบโซมทำหน้าที่สร้างโปรตีน

ประเภทของ Cell

สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เดียว โครงสร้างที่สำคัญที่สุดคือ นิวเคลียสอาศัยลักษณะเด่นชัดของนิวเครียสนี้ทำให้สามารถจำแนกชนิดของเซลล์ได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ เซลล์พวกยูคาริโอต และเซลล์พวกโปรคาริโอต เซลล์ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันที่ หน้าที่ของนิวเครียส ลักษณะโครงสร้างการจัดกลุ่มโครงสร้างและรูปแบบของการเคลื่อนที่ในกรณีที่เซลล์นั้นเคลื่อนไหวได้

เซลล์พวกโปรคาริโอต (Prokaryote)
มีลักษณะสำคัญ คือ
1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเครียสดีเอ็นเอหรือโครโมโซมอยู่ในไซโทพลาซึม เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะเห็นว่าเซลล์ไม่มีนิวเครียสที่ชัดเจน ยกเว้นในระยะที่เซลล์มีการแบ่งตัวดีเอ็นเอหรือโครโมโซมจะจับกลุ่มกันหนาแน่นทำให้มองเห็นทึบแสง เรียกว่า นิวคลีออยด์

2. ปกติมีดีเอ็นเอเพียงหนึ่งโมเลกุลและไม่มีสารพวก ฮิสโทน ปน การรเจริญเพิ่มจำนวนจจึงเป็นไปในรูปแบบจากหนึ่งเป็นสอง คล้ายๆแบ่งครึ่งหรือแบ่งท่อนแต่จะไม่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส บางกรณีอาจมีการสับเปลี่ยนยีนบางส่วนได้คล้ายๆกันกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

3. ส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ปกติจะไม่มีสารพวกสเตียรอล
4. เยื่อหุ้มของโครงสร้างต่างๆภายในไซโทรพลาซึมจะเป็นแบบง่ายๆ เช่น เยื่อหุ้มของโซโซม
5. มีไรโบโซมชนิดที่มีขนาดเล็ก
6. ไม่มีออล์แกเนลล์ ที่มีเยื่อหุ้มแบบง่ายๆภายในไซโทรพลาซึม
7. ระบบหายใจที่ใช้ออกซิเจนจะเกิดที่เยื่อหุ้มเซลล์หรือโซโซม
8. พวกโปรคาริโอตบางชนิดที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ส่วนโครงสร้างที่จะช่วยสังเคราะห์แสงจะอยู่ในเยื่อหุ้มภายใน ไม่มีคลอโรพลาสต์
9. โครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์พวกที่เคลื่อนไหวได้จะเป็นแฟลเจลลัม ซึ่งมีขนาดเล็กมากและไม่มีอะไรหุ้ม
10. เซลล์ทั่วๆไปมีขนาดเล็ก มักมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2 ไมครอน
11. ผนังเซลล์มีเพปทิโดไกลแคน ยกเว้นพวก ไมโคพลาสมา

เซลล์พวกยูคาริโอต (Eukaryote)

มีลักษณะสำคัญ คือ
1. มีเยื่อหุ้มเซลล์ชัดเจนและเยื่อหุ้มนิวเครียสเป็นชนิดยูนิตเมมเบรน มีนิวคลีโอลัสอยู่ภายใต้นิวเครียส ทำให้เห็นลักษณะของเซลล์มีนิวเครียสที่แท้จริงอยู่ภายใน

2. มีโครโมโซมหลายอัน และมักพบว่ามี ฮิสโทนปนอยู่ มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส พบว่ามีท่อขนาดเล็กและสายใใยสปินเดิลช่วยดึงแยกโครโมโซม การเจริญเพิ่มจำนวนขของเซลล์มีได้ทั้งแบบไมโทซิสและไมโอซิส ถ้าหากเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์พวกยูคาริโอต จะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งเซลล์สืบพันธุ์มีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอาจมีการเปลี่ยนแปลงโครโมโซมทั้งอันได้

3. ปกติจะมีสารรพวกสเตียรอลเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์

4. ปกติเยื่อหุ้มของโครงสร้างต่างๆ ภายในไซโทพลาสมิกเรติคิวลัม
5. มีไรโบรโซมที่มีขนาดใหญ่กว่า
6. มีพวกออร์แกเนลล์ต่างๆที่มีเยื่อหุ้มแบบง่ายๆภายในไซโทพลาซึม
7. ระบบหายใจที่ใช้ออกชิเจนจะเกิดในไมโทคอนเดรีย
8. เซลล์บางชนิดที่สังเคราะห์แสงได้นั้น ส่วนที่ช่วยสังเคราะห์แสงจะอยู่ในคลอโรพลาสต์
9. โครงสร้างที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของเซลล์ที่เคลื่อนไหวได้ มีทั้งแบบแฟลเจลลัมและซีเลีย ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าของพวกโปรคาริโอต
10. ปกติเซลล์มีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 2 ไมครอนขึ้นไปถึงใหญ่กว่า 100 ไมครอน
11. ผนังของเซลล์มีหลายแบบ ถ้าเป็นราส่วนใหญ่มีไคทิน พืชส่วนใหญ่มีเซลลูโลส ส่วนสัตว์ไม่มี

Cell Division
การแบ่งเซลล์เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์ผลของการแบ่งเซลล์ทำให้เซลล์มีขนาดเล็กลงทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นเจริญเติบโตเซลล์โพรคาริโอต เช่น เซลล์แบคทีเรียมีการแบ่งเซลล์แบบไบนารีฟิชชัน (binary fission) คือเป็นการแบ่งแยกตัวจาก 1 เป็น 2 เซลล์พวกยูคาริโอต ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) และการแบ่งไซโทพลาซึม (cytokinesis) การแบ่งนิวเคลียสสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ
1. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (mitosis)
2. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส (meiosis)

การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บางชนิด ในสิ่งมีชีวิตทั่วไป การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิศจะเกิดขึ้นที่เซลล์ของร่างกาย (somatic cell) ทำให้จำนวนเซลล์ของร่างกายมีจำนวนมากขึ้น สิ่งมีชีวิตนั้นๆ จึงเจริญเติบโตขึ้น
การแบ่งเซลล์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ก่อนที่จะมีการแบ่งเซลล์ เซลล์จะมีการเตรียมตัวให้พร้อมก่อน ระยะเวลาที่เซลล์เตรียมความพร้อมก่อนการแบ่ง จนถึงการแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาซึมจนเสร็จสิ้น เรียกว่า วัฏจักรของเซลล์ (cell cycle) ซึ่งพบเฉพาะการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส วัฏจักรของเซลล์ประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอน คือ
1) ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เป็นระยะที่เซลล์เตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะแบ่ง
นิวเคลียสและไซโทพลาซึม เซลล์ในระยะนี้ มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ และเห็นนิวคลีโอลัส
ชัดเจนเมื่อย้อมสี แบ่งเป็นระยะย่อยได้ 3 ระยะ คือ

- ระยะก่อนสร้าง DNA หรือระยะ จี1- ระยะสร้าง DNA หรือระยะเอส

- ระยะหลังสร้าง DNA หรือระยะ จี2

2) ระยะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitotic phase หรือ M phase) เป็นระยะที่มีการแบ่งนิวเคลียส เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ แล้วตามด้วยการแบ่งของไซโทพลาซึม การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส อาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะคือ
- ระยะโพรเฟส (prophase) เป็นระยะที่นิวเคลียสยังมีเยื่อหุ้มอยู่

- ระยะเมทาเฟส (metaphase) เป็นระยะที่เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัว

- ระยะแอนาเฟส (anaphase) เป็นระยะที่โครโมโซมแยกกันเป็น 2 กลุ่ม

- ระยะเทโลเฟส (telophase) เกิดการแบ่งของไซโทพลาซึมขึ้น

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของสัตว์ ซึ่งเกิดในวัยเจริญพันธุ์ ของสิ่งมีชีวิต โดยพบในอัณฑะ (testes), รังไข่ (ovary), และเป็นการแบ่ง เพื่อสร้างสปอร์ (spore) ในพืช ซึ่งพบในอับละอองเรณู (pollen sac) และอับสปอร์ (sporangium) หรือโคน (cone) หรือในออวุล (ovule) มีการลดจำนวนชุดโครโมโซมจาก 2n เป็น n ซึ่งเป็นกลไกหนึ่ง ที่ช่วยให้จำนวนชุดโครโมโซมคงที่ ในแต่ละสปีชีส์ ไม่ว่าจะเป็นโครโมโซม ในรุ่นพ่อ-แม่ หรือรุ่นลูก –หลานก็ตาม มี 2 ขั้นตอน คือ

1. ไมโอซิส I (Meiosis - I)

ไมโอซิส I (Meiosis - I) หรือ Reductional division ขั้นตอนนี้จะมีการแยก homologous chromosome ออกจากกันมี 5 ระยะย่อย คือ

• Interphase- I

• Prophase - I

• Metaphase - I

• Anaphase - I

• Telophase - I

2. ไมโอซิส II (Meiosis - II)

ไมโอซิส II (Meiosis - II) หรือ Equational division ขั้นตอนนี้จะมีการแยกโครมาทิด ออกจากกันมี 4 - 5 ระยะย่อย คือ

• Interphase - II

• Prophase - II

• Metaphase - II

• Anaphase - II

• Telophase - II

เมื่อสิ้นสุดการแบ่งจะได้ 4 เซลล์ที่มีโครโมโซมเซลล์ละ n (Haploid) ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ตั้งต้น และเซลล์ที่ได้เป็นผลลัพธ์ ไม่จำเป็นต้องมีขนาดเท่ากัน ขั้นตอนต่างๆในไมโอซิส


















1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ22 มกราคม 2565 เวลา 21:36

    Casino | Aogi dan Agen Slot Online | Agen JOKER123
    Online Slot Gacor dan Terpercaya | Agen Slot Online | Agen JOKER123 | Poker Online | Bandar Slot 카지노사이트 Online | Slot88 | DAFTAR PLAY| 퍼스트 카지노 TAB ONLINE | 온카지노 Joker123 | Daftar

    ตอบลบ